สวนมะละกอฮอลแลนด์ เพชรบุรี ชัยนาท
โทร 061-654-2229, 098-365-6542
  • th

การปลูกมะละกอฮอลแลนด์


การปลูกมะละกอฮอลแลนด์

การปลูกมะละกอฮอลแลนด์

ข้อมูลทั่วไปของมะละกอ 

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Carica papyya L.

ชื่อวงศ์ : CARICACEAE

ชื่อสามัญ : Papaya.

ชื่อท้องถิ่น : มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด ลอกอ

ลักษณะโดยทั่วไปของมะละกอนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ขึ้นในบริเวณที่เป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขังมาก ดินมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 ซึ่งประโยชน์ของมะละกอนั้น สามารถใช้ผลบริโภคได้ ทั้งผลดิบและผลสุก ยางมะละกอสามารถนำไปต้มเพื่อเพิ่มการเปื่อยยุ่ยของอาหารได้ ยางมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างอ่อน ยอดอ่อนนำมาต้มสุกรับประทานได้ดีแก้ร้อนใน มะละกอเป็นผลไม้ยืนต้น ที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย มีรสอร่อย หวาน ทั้งมะละกอดิบเมนูที่นิยมกันมากก็คือ ส้มตำ ส่วนมะละกอสุก ก็สามารถนำไปรับประทานสดเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของการปลูกมะละกอนั้นสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนและการเรียนรู้ตลอด มีเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์แขกดำ ในประเทศไทยได้ผลเป็นที่น่าพอใจหลายท่าน ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี

 

วิธีการปลูกมะละกอ

การเตรียมดินสำหรับเพาะกล้า โดยทั่วไป การใช้ดินสำหรับเพาะกล้านั้น มีส่วนผสม คือ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ผสมกับ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่ลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด คอยหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้เปียกจนเกินไป คอยดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังจากเมล็ดเริ่มงอกแล้ว ดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในหลุมปลูกได้ การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ มะละกอนั้น จัดได้ว่าเป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ควรทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตราประมาณ 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมีอีกที แล้วนำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบโคนเล็กน้อยด้วยดินและปุ๋ยหมัก ปิดด้วยฟางหรือแกลบ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นมะละกอ ไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษาต้นมะละกอ

การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน และควรให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น ต่อหลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้ 

การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่ไม่ควรให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอเกิดบวมน้ำ มีอาการใบเหลืองและต้นจะเน่าและตายในที่สุด

การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน

การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยวมะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิด ๆ ผลยังไม่นิ่ม

การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน วิธีการเพาะเมล็ด

 

วิธีการเพาะเมล็ด

1. นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำ 3 คืน โดยเปลี่ยนน้ำที่แช่บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง

2. นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยให้ใส่ 3-4 เมล็ด/ถุง

3. รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 9-10 วัน เมล็ดก็จะงอก ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง

4. ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน ขุดหลุมลึกประมาณ 30 ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ นำต้นมะละกอปลูกในหลุม กลบดินให้แน่น การดูแลรักษา รดน้ำพอชุ่ม ใส่ปุ๋ยสูตรผสม 12-15-20 โดยระยะการให้ปุ๋ยคือ 1 เดือน/ครั้ง หลังจากที่ลงปลูกมะละกอไปได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอทั้ง 3 ต้นที่อยู่ในหลุมเดียวกันจะเริ่มออกดอก ให้ทำการตัดต้นที่เป็นตัวผู้และตัวเมียทิ้ง เหลือไว้แต่ “ต้นกะเทย” เนื่องจากต้นกะเทยจะให้ผลที่ดก และลูกมะละกอที่ออกมาจะยาวสวย เนื้อหนากว่าต้นที่เป็นตัวเมียและตัวผู้ โดยการสังเกตต้นกะเทยนั้นก็ให้ทำการแหวกกลีบดอกดู ถ้าต้นไหนที่มีทั้งเกสรตัวเมียและตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน หลังจากต้นมะละกออายุได้ 8 เดือนไปแล้ว ก็จะสามารถเก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน 3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่

เกร็ดเพิ่มเติม

มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลผลิต เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 กก. ต่อ ต้น ตลอดอายุการเพาะปลูก ราคาผลผลิตที่ขายได้จะอยู่ที่ 8-16 บาท ต่อ กิโลกรัม ราคาเมล็ดพันธุ์ กิโลกรัมละประมาณ 1,000 บาท เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถนำมาขยายพันธุ์ปลูกได้ประมาณ 50 ไร่ หลังย้ายปลูก 9 เดือน ก็สามารถเก็บผลสุกมะละกอจำหน่ายได้ โดยสังเกตดูที่ผลหากมีแต้มปรากฏอยู่บนผล 2-3 แต้มก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ สภาพอากาศร้อนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนดอกกระเทยให้กลายเป็นดอกตัวเมีย และถ้ามีอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้มะละกอไม่ติดดอกได้ จึงควรให้มีความชื้นอย่างเพียงพอในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด มะละกอจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอฮอลแลนด์ มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศา บริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมากว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน

ลักษณะเด่นของมะละกอฮอลลแลนด์ คือ ไม่มีกลิ่นยาง เนื้อหนา รสหวาน เปลือกหนา ทนทานต่อโรค ทนทานต่อการขนส่งให้ผลดก เนื้อแน่นแข็ง น้ำหนักดี รสชาติหวาน ทนทานต่อโรค มีตลาดรองรับ มะละกอพันธุ์นี้มีอายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 กก. ต่อผล เนื้อมีสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์นี้สามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : วิธีปลูกมะละกอ สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5×3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15 ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบ ๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่สำหรับการปลูกมะละกอแบบนี้ วิธีการเก็บเกี่ยว เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือ ผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย

มารู้จักปุ๋ยกัน

  • 46-0-0 ยูเรีย ให้ไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบใส่ทางดินเช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง
  • 16-16-16 ปุ๋ยสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ใส่ทางดินเช่น ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง
  • 12-24-12 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ใส่ทางดินเช่น ปุ๋ยตรากระทิง, ปุ๋ย GARDEN
  • 8-24-24 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดีใส่ทางดินเช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ย GARDEN
  • 15-5-5 ปุ๋ยน้ำไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบเช่นปุ๋ยนาเชอร์ส
  • 10-10-10 ปุ๋ยน้ำสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส
  • 9-18-9 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบเช่นปุ๋ยนาเชอร์ส
  • 3-18-18 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบเช่น ปุ๋ยนาเชอร์
  • 30-20-10 ปุ๋ยเกร็ดมีไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบเช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้
  • 10-52-17 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบเช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้
  • 21-21-21 ปุ๋ยเกร็ดสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ฉีดพ่นทางใบเช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้, โพคอน, อัลตราโซน
  • 13-27-27 มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบเช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้

 

วิธีการให้ปุ๋ย

วิธีการให้ปุ๋ยไม้กระถางนั้นค่อนข้างง่าย แต่ก่อนการให้ปุ๋ยทุกชนิดต้นหรือใบต้องไม่เหี่ยว วัสดุปลูกต้องชื้น ไม่แห้ง ควรให้เวลาเช้าหรือเย็น และใช้หลัก ให้จำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ดีกว่าให้จำนวนมากแต่น้อยครั้ง

การให้ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของปุ๋ยคือ

1. การให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ (ปุ๋ยใบ) ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก หรือเป็นผง ต้องนำมาละลายน้ำให้เจือจางก่อนใช้

  • ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม
  • ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด ผสมน้ำ 3 ลิตร มีความเข้มข้นเท่ากับ 100 กรัม/ 20 ลิตร

ปุ๋ยใบควรละลายน้ำแล้วพ่นให้เปียกทั่วต้นพืช เพราะปุ๋ยใบสามารถซึมเข้าทางใบเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างรวดเร็ว ถ้าพ่นกับพืชที่ใบหรือต้นที่ติดน้ำยากต้องผผสมสารจับใบ (ยาเปียกใบ) ต้นละประมาณ 5 ถึง 20 ซีซี. แล้วแต่ขนาดของต้น จึงจะได้ผลดี ควรใส่บัวฝอยละเอียดราดให้ถูกทั้งใบกับต้น และให้ไหลลงดินด้วย รากพืชจะได้ปุ๋ยด้วย

2. การให้ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ด ใช้หว่าน หรือโรย โดยหว่านรอบ ๆ ของกระถางด้านใน หรือให้เป็นจุดบนดิน หรือฝังเป็นจุดบนวัสดุปลูก หรือรองก้นกระถางตอนย้ายปลูกถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดจะใช้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

ปุ๋ยเม็ดแบ่งได้ 2 อย่างคือ ปุ๋ยเม็ดปกติ และปุ๋ยเม็ดละลายช้า (ปุ๋ยละลายช้า)

  • ปุ๋ยเม็ดปกติ 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 ถึง 14 กรัม
  • ปุ๋ยเม็ดละลายช้า 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 กรัม ปุ๋ยเม็ดละลายช้าจะใช้ครั้งละมาก แต่นาน ๆ ครั้ง เพราะต้องให้เนื้อปุ๋ยเท่ากันในเวลาที่เท่ากัน (การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าไม่ช่วยให้ประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ย)

ในระยะต้นล็ก (ต้นกล้า) ไม่ควรให้ปุ๋ยเม็ดปกติ แต่ให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าได้ หลังจากนั้นให้ปุ๋ยเม็ดปกติได้ประมาณ 3 ถึง 20 เม็ด ต่อกระถาง เมื่อต้นยังเล็ก ให้ 3 เม็ด และเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามีอายุมากขึ้น ข้อระวังคือ ไม้ที่โตช้าต้องให้ปุ๋ยน้อยกว่าไม้ที่โตเร็ว

การดูแลรักษาต้นกล้าก่อนการย้ายปลูก

รดต้นกล้าป้องกันเชื้อรา

- เทอราคลอซุปเปอร์เอ็กซ์ (ยาดูดซึม)
- เมทาแลกซิล (ยาดูดซึม)

อาหารเสริมที่ใช้ทั้งต้นเล็กและใหญ่

ปุ๋ยเกร็ดทางใบสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 21-21-21 แล้วแต่จะหาซื้อได้

- เฟตตริลอนคอมบิ
- สาหร่ายทะเล
- ไคโตซาน
- แคลเซี่ยม โบลอน
- ยาเชื้อรา + ยาฆ่าแมลงร่วมได้ (แต่ต้องดูว่าใช้ร่วมกันได้หรือไม่)

กลุ่มยาฆ่าเชื้อ

1. เมทาแลคซิล (ราชั้นต่ำ / สัมผัส) + แมนโคเซฟ (ราชั้นต่ำ / สูง / ดูดซึม) เหมาะกับหน้าฝน

2. คลอโลทาโลนิล (ราชั้นสูง / สัมผัส) โรคแอนแทรคโนท, ใบจุด ใบลาย

3. คาร์เป็นดาซึม (ราชั้นสูง / ดูดซึม) ..............................; ......................................ราแป้ง

4. ไดฟีโนโคนาโซล ...................................; .......................................................ชื่อการค้าสกอลล์

5. อะซอกซิสโตนิน.....................................; .......................................................ชื่อการค้าอมิสสตาร์

6. คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ (ราชั้นต่ำ / สูง / แบคทีเรีย / สัมผัส /) อาการเน่าเละ

7. แคปเทน

กลุ่มยาฆ่าแมลง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน

1. เซฟวิ่น 85 (ชี่อรด้า) ชื่อเคมี (คาร์บาลิว) เป็นยาสัมผัส

2. คลอไพรีฟอส

3. ไซเปอร์ไมริน

4. อะบาเม็กติน

5. อมิดาคลอปิด (ยาดูดซึม / สัมผัส) ยาแพงชื่อการค้าโปรวาโด

6. ไดโนทีฟูเรน.......................................; .....................................สตาร์เกิล

กลุ่มยาฆ่าแมลงไรแดง

1. อะมีทราส (ยาสัมผัส)

2. ไพดาเบน (ยาสัมผัส)

3. ซัลเฟอร์ (ยาสัมผัส) ยานี้เป็นยาร้อนห้ามผสมกับยาทุกชนิดและอากาศต้องไม่ร้อน

4. ไดโคโฟล

หอยทาก

1. เมทัลดีไฮด์ 5% โรยรอบลำต้นควรตรวจดูว่ามีหรือไม่ จุดสังเกตอีกอย่างคือช่วงต้นฝน ๆ ตกลงมา สองครั้งให้ตรวจและรีบใส่ก่อนที่จะขึ้นต้น